Health Tech มาแรงรับกระแส #StayHome

SME Startup
29/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3352 คน
Health Tech มาแรงรับกระแส #StayHome
banner

เทคโนโลยีด้านบริการทางการแพทย์นับเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างมาก ท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประเด็นที่น่าจับตาคือ ทุกวันนี้คนเราใช้บริการปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ยืนยันผลสำรวจของ Global Market Insights ชี้ให้เห็นว่า มูลค่าตลาดโลกในส่วนของการใช้บริการปรึกษาแพทย์แบบ Real-time และมีมูลค่า 38.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562

ปัจจุบันเราเรียกเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ video conference ว่า Telemedicine ซึ่ง Global Market Insights ประมาณการณ์ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นไปถึง 130.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 19.2 ซึ่งนับว่าสูงมากทีเดียว

จากสถานการณ์ที่บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 จากคนไข้ ทำให้มีการเชื่อมโยงไปถึง Telemedicine ซึ่งเป็นการนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ สามารถพูดคุยตอบโต้กันโดยที่คู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้าและสนทนากันได้ทั้ง 2 ฝ่ายได้อย่างไร้ข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ ซึ่งแพทย์สามารถใช้ช่วยทำการรักษา วินิจฉัยโรค และให้คำปรึกษาจากทางไกลได้ โดยการให้บริการจะใช้วิธีการผ่านเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และผ่านระบบ Video Conference ที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการใช้สื่อมัลติมีเดีย เช่น รูปถ่าย ดิจิตอลและวีดีโอ นําไปสู่การสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ให้บริการทางการแพทย์

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


Telemedicine แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ตามลักษณะการรับ-ส่งข้อมูล

1. การรับและส่งต่อข้อมูลด้านการแพทย์ เช่น ภาพเอกซเรย์ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่าย หรือคลิปวิดีโอ รวมถึงข้อมูลประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนไปให้แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา การใช้บริการประเภทนี้จะเป็นการส่งข้อมูลผ่านทาง e-mail วิธีนี้นิยมใช้เพื่อปรึกษาขอการวินิจฉัยโรค หรือให้คําแนะนําการรักษาเกี่ยวกับโรค

2. การติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หอบหืด เป็นต้น

3. การพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันทีแบบ Real Time ระหว่างผู้ป่วย และแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ โดยการนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การพูดคุยผ่านทางโทรศัพท์ หรือการสื่อสารผ่านระบบ video conference ที่สามารถเห็นหน้าคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายได้ วิธีนี้ช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่โรงพยาบาลอื่นสามารถมาซักประวัติผู้ป่วย สั่งตรวจร่างกาย และประเมินสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่ขอปรึกษาได้ โดยมีแพทย์ที่ขอปรึกษาจากโรงพยาบาลนั้นอยู่กับผู้ป่วยด้วย เพื่อช่วยในการตรวจร่างกายตามคําแนะนําของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน มีหลายประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม Telemedicine โดยการรวมเทคโนโลยี AI เข้ากับ Big Data ซึ่งใช้ในการรับมือการระบาดไวรัสโควิด-19 สะท้อนความต้องการการบริการทางการแพทย์ยุคใหม่ โดยเทคโนโลยี Telemedicine ระบบแพทย์ทางไกล สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดค่าใช้จ่ายการรักษา และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงแพทย์ได้อย่างทันท่วงที    

สำหรับในประเทศไทย Telemedicine ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนค่อนข้างสูงและยังมีการใช้ไม่มาก แต่ก็มีความพยายามที่จะดำเนินการเป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำเทคโนโลยีนี้เข้าไปช่วยในพื้นที่ห่างไกลที่ด้อยโอกาสทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเหมาะกับโรคที่ใช้คำปรึกษาเยียวยา (Saliva Therapy) มากกว่า

รวมทั้งในข้อกฎหมายในการใช้งาน Telemedicine ที่ปัจจุบันแพทยสภาได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการใช้สื่อสารสนเทศทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้มีความปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดกับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้รับบริการหรือผู้ป่วย แต่เนื่องจากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลากหลาย และมีหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานทำให้ต้องใช้เวลาในการพิจารณาเพื่อความรอบคอบ

ดังนั้นในระหว่างที่แพทยสภากำลังจัดทำคู่มือและแนวทางการให้คำปรึกษาทางไกล รวมถึงปรับปรุงกฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จึงขอให้แพทย์ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมโครงการให้คำปรึกษาทางไกลต่างๆ โปรดใช้วิจารณญาณด้วยความรอบคอบ

กระนั้นในปัจจุบันได้มีแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์โดยตรงมากขึ้น สำหรับในประเทศไทย มีแอพพลิเคชั่น Telemedicine อาทิ

Raksa-ป่วยทัก รักษา

Samitivej Virtual Hospital

Chiiwii LIVE

See Doctor Now

หมอรู้จักคุณ-PATIENT

U Care


Telemedicine กับโรงพยาบาลในไทยในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านการสื่อสารไปอย่างก้าวกระโดด นั่น หมายความว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกใบนี้ ถ้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตคุณก็จะสามารถเข้าถึงแพทย์ที่มีความชํานาญได้เช่นกันไปกับ Telemedicine

แหล่งอ้างอิง : https://healthmeth.wordpress.com


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


‘Medical valley’ แหล่งรวม HealthTech แห่งสแกนดิเนเวีย

รักษาผู้ป่วยแบบตรงจุด ด้วย BenevolentAI


Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333


Related Article

Organic Food เกษตรอินทรีย์ ความท้าทายภาคเกษตรไทย SME Startup

Organic Food เกษตรอินทรีย์ ความท้าทายภาคเกษตรไทย

สหภาพยุโรป(อียู)ถือเป็นตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ขนาดใหญ่  ประชาชนนิยมบริโภคอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ ส่งผลทำให้มูลค่าทางด้านตลาดกว่า 30.7 ล้านล้านยูโร...
62156 | 12/06/2019
ส่อง 4 สตาร์ทอัพด้านเกษตรที่ต้องบอกว่าเจ๋งสุดๆ SME Startup

ส่อง 4 สตาร์ทอัพด้านเกษตรที่ต้องบอกว่าเจ๋งสุดๆ

ธุรกิจในภาคเกษตรยุคปัจจุบันต้องมีการปรับตัวตามยุคตามสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยให้เกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farming ได้ม...
40802 | 04/01/2020
เอ็กซ์เรย์ 10 อาชีพดาวรุ่ง-ดาวร่วงรับปี 2563 SME Startup

เอ็กซ์เรย์ 10 อาชีพดาวรุ่ง-ดาวร่วงรับปี 2563

เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ปัญญาประดิษฐ์’ หรือ เทคโนโลยี Artificial Intelligence(AI) และเทคโนโลยี Big Data  ต...
36451 | 12/12/2019
banner