เมียนมาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจริมแม่น้ำเมย

SME Update
21/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2414 คน
เมียนมาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจริมแม่น้ำเมย
banner

บรรยากาศการลงทุนที่เมืองเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ตรงข้ามกับ อ.แม่สอด จ.ตาก เต็มไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากกลุ่มนักลงทุนยักษ์ใหญ่จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 7 ราย หลังได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่จากรัฐบาลเมียนมาและชนกลุ่มน้อยเมื่อปี 2561 เป็นระยะเวลา 70 ปี เดินหน้าพัฒนาโครงการไม่ต่ำกว่า 20-30 โครงการ ทั้งสร้างโครงการคอนโดมิเนียม โรงแรมหรู อพาร์ตเมนท์ ศูนย์การค้าครบวงจร ฯลฯ แต่ละโครงการไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บริเวณแถบชานเมืองเมียวดีขยายตัวหลายเท่าตัว

ทั้งนี้ โครงการเมกะโปรเจ็กต์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เมืองเมียวดีมูลค่ารวมกันหลายพันล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 เพื่อรองรับประชาชนชาวจีนที่เดินทางมาลงทุนและพักอาศัยอยู่ในเมียนมาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการการลงทุนแถบชานเมืองเมียเกิดขึ้นมาภายหลังจากกลุ่มทุนหย่าไถ้ไถ้ ( YATAI INTERNATIONAL HOLDING GROUP) บรรลุข้อตกลงและลงนามในสัญญาเช่าระยะยาวกว่า 70 ปี กับรัฐบาลเมียนมา และกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF เพื่อลงทุนสร้าง “เมืองใหม่โก๊กโก่” (เขตเศรษฐกิจเมืองใหม่โก๊ะโก่) ตรงข้ามท่าวังแก้ว 23 บ้านห้วยกะโหลก หมู่ 4 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (มากกว่า 46,500 ล้านบาท) เพื่อให้เมืองใหม่ไชน่าทาวน์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจริมแม่นํ้าเมย นับเป็นโครงการใหญ่สุดของกลุ่มทุนจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยปัจจุบันกลุ่มทุนจากจีนจำนวนมากแห่เข้ามาร่วมลงทุนกับเมียนมาในเขตชนกลุ่มน้อยหลายจุดแล้วตามแนวชายแดนริมแม่น้ำเมย เช่น กลุ่มหย่าไถ่-กลุ่มเฮงเชง-กลุ่มหัวเฮี่ยน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนมหาศาล โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สร้างที่อยู่อาศัย บ้านเรือน ที่พัก โรงแรม อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า ฯลฯ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฝั่งเมียนมา จนกลายเป็นเมืองที่จะมีชาวจีนจำนวนนับล้านคนจะเดินทางมาอาศัยอยู่บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ในช่วงเวลาอีก 2-3 ปี ข้างหน้านี้

 

เมียนมาบูมเศรษฐกิจชายแดนปลุกการค้าแม่สอดคึกคัก

ขณะที่การค้าชายแดนไทย-เมียนมา ซบเซาในช่วงที่ไทยประกาศปิดพรมแดนในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่หลังจากรัฐบาลไฟเขียวให้เปิดจุดผ่านแดนขนส่งสินค้าจำนวน 28 แห่ง 22 จังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เพื่อกระตุ้นการค้าชายแดนให้กับมาค้าขายปกติ โดยเฉพาะด่านการค้าถาวร อ.แม่สอด จ.ตาก คึกคักเป็นพิเศษ

เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่เมืองเมียวดี ทำให้การค้าชายแดนบริเวณนี้กลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม ท่ามกลางปฏิบัติตามข้อกำหนดเงื่อนไข และหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามนโนบายรัฐบาล ให้มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าตามท่าเรือ ท่าข้ามริมแม่น้ำเมย ชายแดน อ.แม่สอด จำนวน 21 แห่ง, อ.ท่าสองยาง 6 แห่ง, อ.แม่ระมาด 3 แห่ง, อ.พบพระ 3 แห่ง โดยใน 1 สัปดาห์จะเปิด 5 วัน คือวันจันทร์ ถึงวันศุกร์  และหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 07.00 น.- 18.00 น. โดยทุกด่านท่าเรือท่าข้ามได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563

ในช่วงที่ล็อกดาวน์พรมแดนที่ผ่านมา นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก ยอมรับว่า ผู้ประกอบการการทั้ง 2 ฝั่งไทย-เมียนมา รวมทั้งประชาชนผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน เช่นสินค้าราคาแพง และเกิดภาวะขาดแคลน ทั้งยังไม่มีรายได้ แต่หลังจากเปิดท่าขนส่งสินค้าแล้วจะทำให้ประชาชนทั้ง 2 ฝั่งมีการค้าขายปกติก่อให้เกิดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 10-20 ล้านบาทต่อวัน อีกทั้งยังจะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทั้งสองประเทศที่ดีและจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามมาด้วย

“หลังจากการค้าบริเวณตะเข็บชายแดนจังหวัดจะคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากกลุ่มทุนจากจีนแห่ลงทุนบริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ซึ่งจะส่งผลทำให้การค้าชายแดนไทยเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะเมียนมาจะนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยมากยิ่งขึ้น ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวจีนที่จะย้ายมาอาศัยอยู่บริเวณชายแดนจำนวนนับล้านคน เช่นเดียวกับกับการลงทุนและการท่องเที่ยวพลอยจะได้รับอาสิงส์ด้วย”

 

เอกชนแม่สอดเร่งผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษคู่ขนานเมืองเมียวดี

นับตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลประกาศให้จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (แม่สอด) แต่การเดินหน้าพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวยังไม่รุดหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาทางเทคนิคหลายด้าน ทำให้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตากเป็นไปอย่างเชื้องช้าเมื่อเทียบกับเมืองเมียวดี ทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพทุกด้าน ทำให้กลุ่มนักลงทุนจีนหันหน้าไปลงทุนในเมียนมาแทน เพราะทุกอย่างเอื้ออำนวย ด้วยเหตุนี้ภาคเอกชนจังหวัดแม่สอดพยายามผลักดันให้รัฐบาลเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับเมืองเมียวดีดึงดูดนักลงทุนจากจีนและต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไทยพยายามจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตากแต่ไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพราะติดขัดเรื่องปัญหาเรื่องกฎหมาย

อย่างไรก็ตามเขตเศรษฐกิจพิเศษมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมไม่เกินสิ้นปีนี้หรือปีหน้า หลังจาก พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเดินหน้าผลักดัน อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรเชื่อมต่อกับ จ.เมียวดี สหภาพเมียนมา บนเส้นทางระเบียงสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โครงการพัฒนาระบบคมนาคม แนวทางการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 12 (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมและการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงและรองรับยุทธศาสตร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก–ตะวันตก ทำให้ด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี มีมูลค่าการค้าชายแดนนับแสนล้านบาทต่อปี มีนักธุรกิจเดินทางมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง อ.แม่สอด จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพพร้อมรองรับการลุงทุนทั้งภาคพาณิชยกรรม-ภาคอุตสาหกรรม-ภาคเกษตร-เกษตรอุตสาหกรรม-การค้า-และการท่องเที่ยว ฯลฯ

ทั้งนี้ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศให้จังหวัดตาก เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษตากไปแล้ว รวมทั้งมีการจัดตั้งสำนักงานอาคารเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (แม่สอด) โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้มาตั้งสำนักงาน และยังมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานรองรับไว้มากมาย เช่น สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2, อาคารที่พักสำนักและระบบรันเวย์สนามบินนานาชาติแม่สอดหลังใหม่, โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปา, โครงการด่านพราแดน 2, ระบบสื่อสารและเทคโนโลยี  ฯลฯ แต่ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษตากล่าช้ามาก เพราะมีอุปสรรคและปัญหามากมาย ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว

ปัจจุบัน “แม่สอด” เติบโตบก้าวกระโดดกลายเป็น “ขุมทอง” ของนักลงทุน เปรียบเสมือนประตูหน้าด่านสำคัญบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก–ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) มีมูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมาปีละแสนล้านบาท


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ลงทุนเมียนมาต้องรู้! กฎหมายกำกับดูแลเขตอุตสาหกรรมฉบับใหม่

จับตา! กลุ่มทุนค้าปลีกไทยรุกตลาดอาเซียน


Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333


Related Article

เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก SME Update

เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก

ปัญหาขยะพลาสติกที่ทวีความรุนแรงขึ้น สร้างความตื่นตัวให้สังคมทั่วโลก องค์กรต่างๆ ร่วมจัดการปัญหาขยะพลาสติกด้วยการลดใช้ ไม่เพิ่มปริมาณขยะพลาสติกใหม่เข...
3502995 | 19/07/2019
ส่องเทรนด์เทคโนโลยีในองค์กรประจำปี 2019 SME Update

ส่องเทรนด์เทคโนโลยีในองค์กรประจำปี 2019

Salesforce แพลตฟอร์มการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) อันดับ 1 ของโลก ได้ออกรายงานฉบับใหม่ “Enterprise Technology Trends” ซึ่งเป็นผลงานจากการสำรวจผู้นำด้า...
130181 | 11/06/2019
5 พิกัดเด็ดตลาดค้าส่งเสื้อผ้ามือสอง SME Update

5 พิกัดเด็ดตลาดค้าส่งเสื้อผ้ามือสอง

เสื้อผ้ามือสองได้รับความนิยมมากมาตั้งแต่ช่วงปี 2018 จากเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แนวโน้มการเติบโตของตลาดเสื้อผ้ามือสองจึงมีมาอย่างต่อเนื่อง ข้อ...
124300 | 28/10/2020
banner