4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME

SME มีคำตอบ
17/11/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 610 คน
4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME
banner

ภาคธุรกิจต่างพยายามหาทางลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งกระแสดังกล่าวได้ขยายวงกว้างไปในหลายภาคส่วนหนึ่งในนั้น คือกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักอย่าง EU และสหรัฐฯ แสดงความสนใจที่จะนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจมาตรการที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกระแสสิ่งแวดล้อมจะเป็นทั้งตัวขับเคลื่อนภาคธุรกิจ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ โดยขั้นตอนการเตรียมธุรกิจเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนมาตรการคาร์บอนที่ต้องเตรียมรับมือในอนาคต มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

#สิ่งแวดล้อม #ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก #ธุรกิจคาร์บอนต่ำ #เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน # Carbon Footprint #พลังงานหมุนเวียน #คาร์บอนเครดิต #ภาษีคาร์บอน #CBAM#ESG #ลดโลกร้อน #เพื่อนคู่คิดธุรกิจsme #ธนาคารกรุงเทพ #bangkokbanksme



อันดับแรก ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า ธุรกิจของตนมีการปล่อยคาร์บอนเป็นปริมาณเท่าไหร่หรือที่เรียกว่าการทำ Carbon Footprint ซึ่งมีทั้งการทำ Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ หมายถึงปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์ และ Carbon Footprint ขององค์กร หมายถึงปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง โดยวัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน




เมื่อทราบปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงานของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้ประกอบการควรเริ่มจากการใช้มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency: EE) เช่น ออกแบบอาคารสีเขียว หรือ การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าฉลากเบอร์ 5 ประหยัดพลังงาน เป็นต้น


และหาทางลดการปล่อยคาร์บอนภายในกระบวนการผลิตสินค้าหรือกระบวนการทำงานขององค์กร เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การเลือกใช้วัตถุดิบที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ และการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกระบวนการขนส่ง เป็นต้น




สำหรับธุรกิจที่ไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ทั้งหมด ต้องชดเชยคาร์บอนด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต โดยในกรณีที่สามารถชดเชยคาร์บอนได้บางส่วนและยังคงเหลือปริมาณการปล่อยคาร์บอนอยู่ส่วนหนึ่ง เรียกว่า “Carbon Offset” เป็นการชดเชยคาร์บอน เพื่อเอาไปหักลบกับมลพิษที่ปล่อยออกมา เหมือนเป็นกระบวนการในการสร้างของดีเพื่อเอามาหักล้างของเสียนั่นเอง


ส่วนกรณีที่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด เรียกว่า “Carbon Neutral” เป็นการ “ดูดกลับ” ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกไปทั้งหมด เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอน (Carbon Sink) การใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนและนำกลับมากักเก็บใต้พื้นดิน


ยกตัวอย่างเช่น หากเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เราสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออีก 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต



ในระยะแรก EU จะใช้มาตรการ CBAM กับสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ย ซีเมนต์ และพลังงานไฟฟ้า โดยยังให้มีระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ช่วงปี2566-2568 ก่อนจะเริ่มบังคับใช้มาตรการดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2569

ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับมาตรการด้านคาร์บอนที่จะบังคับใช้ในอนาคต โดยEU กำหนดให้ผู้นำเข้า ต้องทำรายงานปริมาณการปล่อยคาร์บอนสินค้าที่นำเข้าปีที่ผ่านมา และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอนด้วยการซื้อ CBAM Certificates เพื่อเป็นการปรับคาร์บอนของสินค้าดังกล่าว

ดังนั้นการปรับตัวที่มุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจสังคมคาร์บอนต่ำ’ ถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของ SME ไทย ผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรฐานใหม่ของโลกการค้า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่อไป


อ้างอิง

https://www.bangkokbanksme.com/en/6sme3-esg-carbon-footprint


องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgybHo




Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333


Related Article

การตลาดแบบ ‘ฮาซัน’ การขายมิติใหม่ ‘แม่ฉันต้องได้กินกุ้ง’ SME มีคำตอบ

การตลาดแบบ ‘ฮาซัน’ การขายมิติใหม่ ‘แม่ฉันต้องได้กินกุ้ง’

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตและ Social Network บูม ส่งผลให้  ‘VDO On Demand’ เป็นกระแสมาแรงกลายเป็นช่องทางการขายของออนไลน์ สร้างรายได้อย่างที่คาดไม่ถึงเฉพาะอย...
4497 | 23/05/2019

“อุ๊ย...มือลั่น”

SME มีคำตอบ
1734 | 28/02/2019
“อุ๊ย...มือลั่น” SME มีคำตอบ

“อุ๊ย...มือลั่น”

ใช้ Social Media อย่างไรให้ถูกต้อง เหมาะสม และไม่ผิดกฎหมาย สามารถติดตามรับชมแอนิเมชัน “Blink Blink Be Safe” ได้ที่ Youtube Blink Blink Bangkok Bank...
1734 | 28/02/2019

ขอฝากร้านหน่อยจ้า

SME มีคำตอบ
1582 | 28/02/2019
ขอฝากร้านหน่อยจ้า SME มีคำตอบ

ขอฝากร้านหน่อยจ้า

เราจะใช้โซเชียลอย่างไรไม่สร้างความรำคาญหรือความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ติดตามชมในตอน “ขอฝากร้านหน่อยจ้า” สามารถติดตามรับชมแอนิเมชัน “Blink Blink Be Safe”...
1582 | 28/02/2019
banner