Case Study สันติพาณิชย์ และ บริบูรณ์ฟาร์ม โมเดลเกษตรก้าวหน้า ด้วยแนวคิด BCG
การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) อาจมีคำอธิบายที่หลากหลาย
แต่สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME สาระสำคัญอยู่ที่การ 'ประยุกต์' หรือใช้นวัตกรรม เพื่อทําให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่ม (Value creation) จากของที่มีอยู่เดิม หรือการสร้างสิ่งใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลในมิติทางสังคม และสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นการตีความหมายในแง่มุมของการดำเนินธุรกิจที่สมดุล ยั่งยืน ท่ามกลางบริบทของเศรษฐกิจโลกที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีความเป็น Personal life มากขึ้น
กล่าวคือ โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม มีการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ขยายการเติบโตที่เน้นการมีส่วนร่วมทั้งซัพพลายเชน สร้างสมดุลในมิติของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น และหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ทั้งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจ ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ

โลกกำลังเปลี่ยน เกษตรกรต้องปรับตัว
ข้อมูลจากโครงการวิจัยเรื่อง อนาคตชาวนา-ชาวสวนรายเล็ก โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่มีการศึกษาครอบคลุมเกษตรกรรายเล็กที่ปลูกข้าว ผักและไม้ผล
รวมทั้งเกษตรกรบนพื้นที่สูงในจังหวัดภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรและ เกษตรกรไทยในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก และการปรับตัวของเกษตรกร ตลอดจนความท้าทายต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคเกษตรไทย
โดยผลการวิจัยที่สามารถฉายภาพอนาคตของชาวนาไทย แบ่งได้เป็น 4 ฉากทัศน์ โดยมี 2 ปัจจัยสำคัญคือ 1.ชาวนามือถือกับการเปลี่ยนเป็นชาวนามืออาชีพในอนาคต และ 2. ผลิตภัณฑ์ข้าวแบบข้าวมวลชน หรือข้าว/ผลิตภัณฑ์ข้าวสำหรับตลาดเฉพาะ เช่น ข้าว/ผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อสุขภาพ ดังนี้ :
ฉากทัศน์ที่ 1
ชาวนามือถือรอการเยียวยา (จากเงินอุดหนุนของรัฐ) ฉากทัศน์นี้ใกล้เคียงกับสภาพปัจจุบันของชาวนาไทย ชาวนารายเล็กส่วนใหญ่เป็นชาวนามือถือจ้างคนอื่นทำนา ส่วนตนเองหันไปประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร ปลูกข้าวตามความต้องการของตลาดเพื่อขายให้โรงสี แต่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ
ฉากทัศน์ที่ 2
ชาวนาไฮเทครายใหญ่ ทำนาในที่ดินขนาดใหญ่ ใช้ความรู้ เทคโนโลยี ทำเกษตรแม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทำนาที่เน้นเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน แต่ปลูกข้าวตามความต้องการของตลาด
ชาวนาไฮเทครายใหญ่ ทำนาในที่ดินขนาดใหญ่ ใช้ความรู้ เทคโนโลยี ทำเกษตรแม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทำนาที่เน้นเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน แต่ปลูกข้าวตามความต้องการของตลาด
ฉากทัศน์ที่ 3
วิสาหกิจชาวนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มของชาวนาในรูปวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เน้นขายข้าวพิเศษและผลิตภัณฑ์จากข้าวตลาดเฉพาะกลุ่ม มีการใช้เทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิม
วิสาหกิจชาวนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มของชาวนาในรูปวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เน้นขายข้าวพิเศษและผลิตภัณฑ์จากข้าวตลาดเฉพาะกลุ่ม มีการใช้เทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิม
ฉากทัศน์ที่ 4
พันธมิตรผลิตข้าวหลากชนิด ในฉากทัศน์นี้จะมีชาวนารุ่นใหม่ แต่มีจำนวนมากกว่าทุกฉากทัศน์ โดยใช้ทั้งความรู้สมัยใหม่ด้านการจัดการฟาร์ม การแปรรูป การตลาด ใช้ความรู้เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถผลิตสินค้าทั้งข้าวคุณภาพ และผลิตภัณฑ์แปรรูป ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พันธมิตรผลิตข้าวหลากชนิด ในฉากทัศน์นี้จะมีชาวนารุ่นใหม่ แต่มีจำนวนมากกว่าทุกฉากทัศน์ โดยใช้ทั้งความรู้สมัยใหม่ด้านการจัดการฟาร์ม การแปรรูป การตลาด ใช้ความรู้เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถผลิตสินค้าทั้งข้าวคุณภาพ และผลิตภัณฑ์แปรรูป ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อนาคตชาวสวนผักและไม้ผลรายเล็ก
ขณะที่ผลกระทบต่อชาวสวนผักและไม้ผลรายเล็ก จาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1. การใช้เทคโนโลยี และ 2.การค้าขายในห่วงโซ่ภายในประเทศ และห่วงโซ่สากล โดยมีฉากทัศน์ 4 ภาพ ได้แก่
ฉากทัศน์ที่ 1
National Stewardship เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถปรับตัวเรียนรู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และสามารถผลิตเพื่อขายผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานที่สูงขึ้นในระดับประเทศ และสามารถจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ
ฉากทัศน์ที่ 2
เกษตรกรผู้ประกอบธุรกิจสีเขียว (All Green Entrepreneur) เป็นลักษณะชาวสวนรายเล็กโดยร่วมมือหรือเป็นหุ้นส่วนกับผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียวที่มีความชำนาญด้านเกษตรและเทคโนโลยี สามารถสร้างแพลตฟอร์มตลาดสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ โดยเชื่อมโยงกับผู้ค้าต่างประเทศ หรือมีระบบการค้าสากล ทั้งสามารถพัฒนาพันธุ์ หรือมีระบบเกษตรพันธสัญญา
ฉากทัศน์ที่ 3
เป็นฉากที่ใกล้เคียงกับภาวะปัจจุบัน โดย รัฐและบริบทสังคม ปราชญ์ชาวบ้าน/Influencer เป็นผู้ที่มีอิทธิพลด้านการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเกษตรต่อชาวสวนรายเล็กส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอิสระ การซื้อขาย ปัจจัยการผลิตและผลผลิตผ่านระบบตัวกลาง เน้นการผลิตเพื่อขายในประเทศ และแม้เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยี แต่เน้นผลิตตามประสบการณ์ ทำให้มีต้นทุนสูง และความแปรปรวน ขาดการบันทึกและใช้ข้อมูลเพื่อการประกอบการตัดสินใจ
ฉากทัศน์ที่ 4
เกษตรกร นักธุรกิจหัวก้าวหน้า กลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ปรับตัวมีจุดประสงค์ร่วมเพื่อปรับการผลิตผักไม้ผลขายตามความต้องการตลาดสากล และเชื่อมโยงกับเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนโดยใช้ IoT สามารถยกระดับสภาพแวดล้อมสังคม รายได้ มีช่องทางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีความยั่งยืน
ขณะที่ 4 ฉากทัศน์สำหรับ อนาคตเกษตรกรบนที่สูง อาทิ กาแฟ ข้าวโพด หรือพืชไร่ ไม้ผลต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกและจัดเรียงลำดับปัจจัย ที่มีความเสี่ยงและผลกระทบสูงสุด ได้แก่ สิทธิการใช้ประโยชน์ และเกษตรกรในอนาคต ที่เป็นคนหนุ่มสาว หรือ เกษตรกรผู้สูงอายุ โดยมีฉากทัศน์ที่น่าสนใจดังนี้
1. เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นฉากทัศน์ฐานที่ใกล้เคียงสถานการณ์เกษตรพื้นที่สูงของประเทศในปัจจุบัน เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดียวที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา และยังใช้แรงงานสูง
2. เกษตรอาชีพเสริมของหนุ่มสาว เป็นฉากทัศน์ในอนาคต เกษตรกรส่วนใหญ่จะเป็นคนหนุ่มสาวมีการศึกษาสูงขึ้น มีความรู้ ทักษะมีการใช้ Big data เพื่อคิดวิเคราะห์ ปรับตัวและปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์การ และมีความต้องการประกอบอาชีพอิสระ
การใช้ประโยชน์ที่ดินอยู่ในลักษณะแปลงรวม แต่พื้นที่การเกษตรมีขนาดเล็กลง พืช/สัตว์เศรษฐกิจเป็นพืช/ ปศุสัตว์มูลค่าสูงที่สามารถผลิตร่วมกับป่า (กาแฟ โกโก้ อะโวคาโด โคพื้นเมือง เป็นต้น) เกษตรกรหนุ่ม สาวจะทำการเกษตรแบบไม่เต็มเวลา (Part time) ไม่ทำงานหนักกลางแจ้งเหมือนเกษตรกรรุ่นเก่า ปรับใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ขนาดเล็ก เทคโนโลยีที่ทันสมัย
3. เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ/วัยกลางคน ที่เคยไปทำงานนอกพื้นที่เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น/หวนกลับคืนชุมชนเพื่อทำการเกษตร โดยมีความมั่นคงในสิทธิทำกินส่งผลให้เกิดการลงทุนเพิ่ม/สามารถเข้าถึงแหล่งทุนขอสินเชื่อในการผลิต เทคโนโลยี และกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถขยายโอกาจำหน่ายผลผลิตทั้งในประเทศและตลาดส่งออก
4. เกษตรและธุรกิจสีเขียวของหนุ่มสาว จะเป็นการเคลื่อนจากฉากทัศน์ที่ 1 และ 3 ไปสู่สังคมเกษตรที่ชุมชนเข้มแข็งโดยเกษตรกรคนหนุ่มสาว มีโอกาสได้รับความมั่นคงในสิทธิการใช้ประโยชน์พื้นที่ดิน ทำเกษตรผสมผสานที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ/ปศุสัตว์มูลค่าสูง มีการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือเกษตรที่ประหยัดแรงงาน มีการลงทุนสูง สินค้าเกษตรมีขีดความสามารถการแข่งขันในประเทศ-ส่งออก เกษตรกรและชุมชนจะมีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่ป่า จากการได้รับผลประโยชน์จาก Carbon Credit
สรุป จาก 4 ฉากทัศน์ทั้งในมุมของชาวนา เกษตรกรที่ปลุกพืช ไม้ผลรายเล็ก และเกษตรพื้นพื้นที่สูง เห็นได้ว่าสิ่งที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรในองค์รวม คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาสู่อาชีพเกษตรมากขึ้น การรวมกลุ่มของเกษตรและเครือขายเกษตรที่เป็นผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยี และเข้าใจความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าผลผลิต หรือการพัฒนาผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนภาคเกษตรในระยะต่อไปและเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการเกษตรยุคใหม่จะต้องปรับตัว

5 แนวคิด BCG ช่วยพัฒนาธุรกิจ SME ภาคเกษตร
จากบทสรุปในงานวิจัยเรื่องอนาคตชาวนา-ชาวสวนรายเล็กฯ และ ฉากทัศน์ต่าง ๆ ของภาคเกษตรไทยในอนาคต การพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหารจึงไม่เพียงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามวิถีสังคมและการค้าโลก และจำเป็นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิต หรือการเพิ่มมูลค่า (Value added) รวมถึงมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การผลักดันแนวคิดเรื่อง โมเดลเศรษฐกิจ BCG สำหรับการเติบโตในยุคต่อไปของภาคเกษตรไทยโดยการนำ 5 แนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาธุรกิจด้วย BCG ที่ประกอบด้วย :
1. Value Creation : มุ่งเน้นพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
2. Connect : เชื่อมกับชุมชน หรือการรวมกลุ่มซัพพลายเชนเพื่อสร้างการเติบโตที่มีความมั่นคงและยั่งยืน
3. Transfer : ถ่ายทอดความรู้ หรือนวัตกรรมแก่เกษตรกรเพื่อยกระดับคุณภาพวัตถุดิบ
4. Sharing : มีการแบ่งปันรายได้ที่เป็นธรรม
5. Balance : สร้างสมดุล ทั้งในมิติสังคม สิ่งแวดล้อม และรายได้ธุรกิจ
ทั้งนี้ จาก 2 กรณีศึกษา สันติพาณิชย์ Coffee & Roaster และ บริบูรณ์ฟาร์ม เกษตรในฉากทัศน์ที่ 2 หรือเกษตรกรผู้ประกอบธุรกิจสีเขียว (All Green Entrepreneur) เป็นลักษณะชาวสวนรายเล็กโดยร่วมมือหรือเป็นหุ้นส่วนกับผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียวที่มีความชำนาญด้านเกษตรและเทคโนโลยี สามารถสร้างแฟลตฟอร์มตลาดสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ มีระบบการค้าสากล
ทั้งสามารถพัฒนาพันธุ์ หรือมีระบบเกษตรพันธสัญญาและเป็น ธุรกิจ SME ภาคเกษตรมีมีการนำแนวคิดการพัฒนา BCG มาปรับใช้เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน ภายใต้บริบทของธุรกิจเกษตรและอาหารที่ตอบสนองกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคยุคใหม่

สันติพาณิชย์ Coffee & Roaster
สันติพาณิชย์ Coffee & Roaster เริ่มต้นจากธุรกิจโรงคั่วกาแฟในจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ทำธุรกิจร่วมกับชุมชนและชาวสวนกาแฟรายเล็ก จัดอยู่ในฉากทัศน์ที่ 2 เกษตรกรผู้ประกอบธุรกิจสีเขียว (All Green Entrepreneur) ปัจจุบันให้บริการด้านกาแฟแบบครบวงจร นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้ผสานโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาประยุกต์อย่างน่าสนใจ

เริ่มจาก ความต้องการพัฒนาคุณภาพกาแฟตอบสนองความต้องการตลาดกาแฟที่หลากหมาย ทั้งการผลิตกาแฟแบบเดียวในปริมาณมาก ๆ เริ่มไม่ตอบโจทย์ตลาดที่ต้องการกาแฟคุณภาพสูงและรสชาติเฉพาะตัว หรือมีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
ดังนั้น เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพกาแฟก็เพื่อสร้างมูลค่ากาแฟไปสู่ตลาดบริโภคที่มีมูลค่าสูงขึ้น และการสรรหาเมล็ดกาแฟคุณภาพจากแหล่งต่าง ๆ มาเพื่อสามารถตอบโจทย์ความต้องการของร้านกาแฟในหลากหลายระดับ อาทิ ทำ Specialty Coffee เพื่อสร้างรสชาติที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของแบรนด์
สินติพาณิชย์ นำยังแนวคิดการพัฒนาคุณภาพกาแฟโดยการ เชื่อมโยงแหล่ผลิต และส่งต่อความรู้ อาทิ การปลูกและการแปรรูปกาแฟ (Processing) ให้แก่เกษตรกร เพื่อให้ได้สารกาแฟที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ขายได้ราคาสูงกว่าทั่วไป
อาทิ การไปร่วมกับกาแฟแม่บู่หยา จ.เชียงใหม่ ที่มีการส่งต่อองค์ความรู้การ Processing กาแฟ ทำให้เกษตรกรกล้าลงทุนทำบ่อหมัก ลานตากเมล็ดกาแฟ รวมถึงการทำเกษตรอินทรีย์ การปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อให้ร่มเงาให้สวนกาแฟ เหล่านี้ไม่เพียงสามารถสร้าง Value Chain ระหว่างโรงคั่วกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ และเป็น Long Term Relationship สำหรับธุรกิจ

เหตุนี้ การไป Connect and Transfer กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโดยตรงไม่เพียงสามารถพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบโดยการส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกร มีแหล่งซัพพลายวัตถุดิบที่เพียงพอ และไม่เพียงสร้างการมีส่วนร่วมและแบ่งปันรายได้แก่สู่ชุมชน
ทั้งนี้ กลยุทธ์ ตลอดจนการจัดการในด้านต่าง ๆ ของสันติพาณิชย์ ล้วนแต่มีความเกี่ยวโยงกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในหลากหลายแง่มุม และเป็นตัวอย่างที่เห็นผลได้ชัดถึงการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม พอดีกับสภาพที่แท้จริงของธุรกิจ

โมเดลเศรษฐกิจ BCG ของสันติพาณิชย์
- พัฒนาคุณภาพผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) โดยใช้ความรู้ด้านชีวภาพและความหลากหลายทางชีววิทยาของกาแฟแต่ละชนิด โดยนำเทรนด์ด้านความต้องการของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคตอบสนองตลาด Specialty Coffee
- การรวมกลุ่มเกษตรกร (Connect) และรับซื้อผลผลิตคุณภาพจากเกษตรโดยตรง
- ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ทั้งในแง่ของการแบ่งปันความรู้ด้านการผลิตและการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้สารกาแฟคุณภาพดี (Transfer knowledge process) กระบวนการผลิตและการจัดการเมล็ดกาแฟเพื่อให้ได้คุณภาพตรงความต้องการของตลาดกาแฟที่มีความเฉพาะมากขึ้นแก่เกษตรกร (Yeast Process Coffee)
- แบ่งปันส่วนแบ่งรายได้ (Sharing) ที่เป็นธรรมส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
- สร้างการเติบโตและรายได้ในระยะยาว โดยพัฒนาคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้สามารถสร้างสมดุล (Balance) ระหว่างชุมชน (Community People) สิ่งแวดล้อม (Environment) และผลกำไร (Profit) ของธุรกิจ เช่น ส่งเสริมการปลูกป่า ไม่บุกรุกป่า ทำเกษตรอินทรีย์ การไม่ใช้สารเคมี การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร
BCG กับทฤษฎี Long Tail Marketing ของธุรกิจกาแฟ
ความนิยมในการดื่มกาแฟของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่มีความต้องการอย่างหลากหลาย และเฉพาะกลุ่ม ร้านกาแฟก็ยังต้องการสร้างความแตกต่างให้กับรสชาติกาแฟภายในร้าน
ดังนั้น จึงเห็นว่าการผลิตกาแฟแบบเดียวในปริมาณมากๆ เริ่มไม่ตอบโจทย์ตลาดที่ต้องการกาแฟคุณภาพสูงและรสชาติเฉพาะตัว สู่การสร้างเอกลักษณ์ใหม่ของเมล็ดกาแฟที่คั่วโดยโรงคั่ว สันติพาณิชย์ กล่าวคือ การสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นและเห็นผลได้ชัดเจนโดยนำ โมเดลเศรษฐกิจ BCG มาพัฒนาคุณภาพให้ตรงความต้องการของตลาด

โดยปกติ โรงคั่วกาแฟทั่วไปจะผลิตสินค้าแบบเดียวกันมากๆ เน้นขายให้กับลูกค้าทุกกลุ่มเพื่อเป็นการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) โดยไม่ได้สนใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
ขณะที่ สันติพาณิชย์ จะนำมา ครีเอทเป็น Blend Coffee ประเภทต่าง ๆ หลายหลายชนิด เพื่อเป็นทางเลือกหรือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการหลากหลาย และยังสามารถเพิ่มมูลค่าเมล็ดกาแฟมากกว่าที่จะจำหน่ายแบบเดียว
ดังนั้น เคล็ดลับในการนำกาแฟมาสร้างสรรค์เป็น ‘สูตรเฉพาะของตัวเองและมีหลากหลายชนิด’ ให้ลูกค้าเลือก ไม่เพียงสามารถจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น ยังส่งผลให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายเมล็ดกาแฟในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย

สิ่งเหล่านี้เป็นการนำทฤษฎี Long Tail Marketing มาใช้เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่เป็น Personal life คนอยากดื่มกาแฟที่ตัวเองชอบและมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้น โรงคั่วกาแฟจึงต้องวาง Target Customer ไว้อย่างหลากหลาย สนองต่อความต้องการของตลาดและรายได้ในระยะยาวนั่นเอง และสิ่งเหล่านี้คือการนำไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) กระบวนการทางชีวภาพมาพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ลูกค้าจดจำสู่มูลค่าที่เพิ่มขึ้นได้ด้วย



บริบูรณ์ฟาร์ม
'บริบูรณ์ฟาร์ม’ ธุรกิจ SME ที่นำการบริหารแบบ Startup ตั้งอยู่ที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เริ่มต้นจากทดลองปลูกอะโวคาโด้กว่า 15 สายพันธุ์ ต่อมาเกิดแนวคิดขยายช่องทางจำหน่าย และเพิ่มมูลค่า ผ่านการศึกษาและวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากอะโวคาโดนำมาแปรรูปเป็น ‘อะโวคาโด ออยล์ ซอฟเจล’ เจ้าแรกในประเทศไทยเป็นที่รู้จักทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และการันตีโดยรับรางวัล Best of the Best จากกิจกรรมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ (Genius Academy)

กรณีของ บริบูรณ์ฟาร์ม คือการแปรรูปสินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ใช้การตลาดเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งการันตีด้วยรางวัลและเครื่องหมายรับรองคุณภาพอีกมากมาย ซึ่งเป็นการยกระดับจากสินค้าเกษตรที่ขายเป็นกิโลกรัม สู่ ออยล์ ซอฟเจล ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยด้าน Biotechnology และนวัตกรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
รวมถึงการต่อยอดการวิจัยสารสกัดอะโวคาโดในการช่วยต้านมะเร็ง หรือ สร้างภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เป็นอีกทางเลือกให้สำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีแนวโน้มอาจเป็นมะเร็งในอนาคต และจะเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพที่แปรรูปจากอะโวคาโด

นี่คือแนวคิด เกษตร 4.0 หรือ Smart Farming ที่ใช้แนวคิดแบบ Startup ที่ไม่หยุดอยู่แค่การปลูกเพื่อขายผลผลิตตามฤดูกาล แต่เน้นการแปรรูป สร้างสิ่งใหม่ด้วยนวัตกรรม โดยมีการร่วมมือกับสถานศึกษา และการร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งต่อมาผลผลิตไม่เพียงพอ จึงขยายแหล่งปลูกเพิ่มเติมที่จังหวัดชัยภูมิ
ปัจจุบัน มีเกษตรกรในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายจำนวนมาก มีพื้นที่ปลูกอะโวคาโดรวมกว่า 1 พันไร่ โดยการหาพื้นที่ปลูกอะโวคาโดจะต้องพิจารณาถึงสภาพอากาศที่เหมาะสม เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายต้องมีการตรวจค่าดินต่างๆ รวมถึงปุ๋ยที่ใช้ต้องมาจากซากพืช ซากสัตว์ และต้องใช้สารสมุนไพร 100% สำหรับไล่แมลงในไร่ปลูกอะโวคาโด โดยเป็นการทำวิจัยร่วมกันระหว่างบริษัทและสถานศึกษา
รวมทั้งมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างการเติบโตแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการส่งต่อความรู้ เทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยว การรวมกลุ่มซัพพลายเชนผู้ปลูกอะโวคาโด ยังทำให้สามารถจัดการคุณภาพวัตถุดิบที่เพียงพอต่อความต้องการผลิต และตอบโจทย์ลูกค้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นได้ด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ร่วมเติบโตไปด้วยกัน
โมเดลเศรษฐกิจ BCG ของ บริบูรณ์ฟาร์ม
- สร้าง Value Creation ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม สู่ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากอะโวคาโดนำมาแปรรูปเป็น ‘ออยล์ ซอฟเจล’ เจ้าแรกในประเทศไทย
- รวมกลุ่ม (Connect) รวมทั้งการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายผู้ปลูกอโวคาโด้สายพันธุ์ที่ให้คุณภาพน้ำมันดี
- ถ่ายทอด ส่งต่อความรู้วิธิการปลูกอะโวคาโดคุณภาพแก่เกษตรกร (Transfer)
- แบ่งปันรายได้ (Sharing) อย่างเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร สามารถเพิ่มรายได้ที่ดีขึ้นให้แก่ชุมชน
- สร้างสมดุล (Balance) ทั้งในมิติทางสังคม เช่น การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตร และสร้างธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จากมันสำปะหลัง อ้อย ที่ต้องเผา มาเป็นพืชที่มี Value สูง โดยไม่ใช้สารเคมีหรือการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเกษตรกรจะได้ประโยชน์คือ ได้รับผลกำไรที่เหมาะสม และส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย

ความท้าทายของ SME ด้านเกษตรและอาหารในทศวรรษนี้คือ ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การระบาดของโรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ การแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงการลดลงของทรัพยากร
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาธุรกิจ ต้องมุ่งสู่การพัฒนาอย่างสมดุลมากขึ้น ทั้งมิติ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ เพื่อเปลี่ยนแรงกดดัน หรือข้อจำกัดเป็นพลังในการขับเคลื่อน และสามารถฟื้นตัว (Resilience) หรือการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาอันรวดเร็ว
เอกสารอ้างอิง :
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นโยบายเทคโนโลยีการเกษตร 4.0 (Farming 4.0 Policy)สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
https://tdri.or.th/2021/01/farming-4-0-policy/
สัมมนา ภาพอนาคตภาพอนาคตเกษตรรายเล็กของไทย จัดโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
https://tdri.or.th/seminars/future-micro-farmer/
ผลกระทบของ DisruptiveTechnology ต่อภาคเกษตรไทยและการเตรียมความพร้อม
https://tdri.or.th/2022/09/impact-of-disruptive-technology-on-thai-agricultural-sector-and-preparedness/
https://santipanich.com/
www.boriboonfarm.com